วันศุกร์ที่ 1 กุมภาพันธ์ พ.ศ. 2556

กิจกรรมที่ 2

ให้นักศึกษาอ่าน                  
1.ประเด็นที่อ่านแล้วมีอะไรที่น่าสนใจ
หมวด ๑ บททั่วไป
มาตรา ๑ (รูปแบบรัฐ)
ประเทศไทยเป็นราชอาณาจักรอันหนึ่งอันเดียว จะแบ่งแยกมิได้
มาตรา ๒ (รูปแบบการปกครอง)
ประเทศไทยมีการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
มาตรา ๓ (อำนาจอธิปไตย)
อำนาจอธิปไตยเป็นของปวงชนชาวไทย พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจนั้นทางรัฐสภา คณะรัฐมนตรี และศาล ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
มาตรา ๕ (ความเสมอภาคภายใต้กฎหมาย)
ประชาชนชาวไทยไม่ว่าเหล่ากำเนิด เพศ หรือศาสนาใด ย่อมอยู่ในความคุ้มครองแห่งรัฐธรรมนูญนี้เสมอกัน
หมวด ๒ พระมหากษัตริย์
มาตรา ๘ (ฐานะของพระมหากษัตริย์)
องค์พระมหากษัตริย์ทรงดำรงอยู่ในฐานะอันเป็นที่เคารพสักการะ ผู้ใดจะละเมิดมิได้
ผู้ใดจะกล่าวหาหรือฟ้องร้องพระมหากษัตริย์ในทางใด ๆ มิได้
 หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
ส่วนที่ ๑ บททั่วไป
มาตรา ๒๖ (การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐ)
การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ ตามบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญนี้
ส่วนที่ ๒ ความเสมอภาค
มาตรา ๓๐ (ความเสมอภาค)
บุคคลย่อมเสมอกันในกฎหมายและได้รับความคุ้มครองตามกฎหมายเท่าเทียมกันชายและหญิงมีสิทธิเท่าเทียมกัน
การเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมต่อบุคคลเพราะเหตุแห่งความแตกต่างในเรื่องถิ่นกำเนิดเชื้อชาติ ภาษา เพศ อายุ ความพิการ สภาพทางกายหรือสุขภาพ สถานะของบุคคล ฐานะทางเศรษฐกิจหรือสังคม ความเชื่อทางศาสนา การศึกษาอบรม หรือความคิดเห็นทางการเมืองอันไม่ขัดต่อบทบัญญัติแห่งรัฐธรรมนูญ จะกระทำมิได้
มาตรการที่รัฐกำหนดขึ้นเพื่อขจัดอุปสรรคหรือส่งเสริมให้บุคคลสามารถใช้สิทธิและเสรีภาพได้เช่นเดียวกับบุคคลอื่น ย่อมไม่ถือเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรมตามวรรคสาม

หมวด ๗ การมีส่วนร่วมทางการเมืองโดยตรงของประชาชน

มาตรา ๑๖๕

ประชาชนผู้มีสิทธิเลือกตั้งย่อมมีสิทธิออกเสียงประชามติ การจัดให้มีการออกเสียงประชามติให้กระทำได้ในเหตุ ดังต่อไปนี้
(๑) ในกรณีที่คณะรัฐมนตรีเห็นว่ากิจการในเรื่องใดอาจกระทบถึงประโยชน์ได้เสีย ของประเทศชาติหรือประชาชน นายกรัฐมนตรีโดยความเห็นชอบของคณะรัฐมนตรีอาจปรึกษาประธาน สภาผู้แทนราษฎรและประธานวุฒิสภาเพื่อประกาศในราชกิจจานุเบกษาให้มีการออกเสียงประชามติได้
(๒) ในกรณีที่มีกฎหมายบัญญัติให้มีการออกเสียงประชามติ
การออกเสียงประชามติตาม (๑) หรือ (๒) อาจจัดให้เป็นการออกเสียงเพื่อมีข้อยุติ โดยเสียงข้างมากของผู้มีสิทธิออกเสียงประชามติในปัญหาที่จัดให้มีการออกเสียงประชามติ หรือเป็น การออกเสียงเพื่อให้คำปรึกษาแก่คณะรัฐมนตรีก็ได้ เว้นแต่จะมีกฎหมายบัญญัติไว้เป็นการเฉพาะ
การออกเสียงประชามติต้องเป็นการให้ออกเสียงเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบในกิจการ ตามที่จัดให้มีการออกเสียงประชามติ และการจัดการออกเสียงประชามติในเรื่องที่ขัดหรือแย้งต่อ รัฐธรรมนูญหรือเกี่ยวกับตัวบุคคลหรือคณะบุคคล จะกระทำมิได้
ก่อนการออกเสียงประชามติ รัฐต้องดำเนินการให้ข้อมูลอย่างเพียงพอ และให้บุคคล ฝ่ายที่เห็นชอบและไม่เห็นชอบกับกิจการนั้น มีโอกาสแสดงความคิดเห็นของตนได้อย่างเท่าเทียมกัน
หลักเกณฑ์และวิธีการออกเสียงประชามติให้เป็นไปตามพระราชบัญญัติประกอบ รัฐธรรมนูญว่าด้วยการออกเสียงประชามติ ซึ่งอย่างน้อยต้องกำหนดรายละเอียดเกี่ยวกับวิธีการออกเสียง ประชามติ ระยะเวลาในการดำเนินการ และจำนวนเสียงประชามติ เพื่อมีข้อยุติ

2.สิ่งที่เกี่ยวข้องกับการศึกษาวิชานี้ตรงกับรัฐธรรมนูญในประเด็นใดบ้าง
หมวด ๓ สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย
มาตรา ๔๙
บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่าสิบสองปีที่รัฐจะต้องจัดให้อย่างทั่วถึงและมีคุณภาพ โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ หรือผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ต้องได้รับสิทธิตามวรรคหนึ่งและการสนับสนุนจากรัฐเพื่อให้ได้รับการศึกษาโดยทัดเทียมกับบุคคลอื่น
การจัดการศึกษาอบรมขององค์กรวิชาชีพหรือเอกชน การศึกษาทางเลือกของประชาชน การเรียนรู้ด้วยตนเอง และการเรียนรู้ตลอดชีวิต ย่อมได้รับความคุ้มครองและส่งเสริมที่เหมาะสมจากรัฐ
มาตรา ๕๐
บุคคลย่อมมีเสรีภาพในทางวิชาการ
การศึกษาอบรม การเรียนการสอน การวิจัย และการเผยแพร่งานวิจัยตามหลักวิชาการ ย่อมได้รับความคุ้มครอง ทั้งนี้ เท่าที่ไม่ขัดต่อหน้าที่ของพลเมืองหรือศีลธรรมอันดีของประชาชน
หมวด ๕ แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
ส่วนที่ ๔ แนวนโยบายด้านศาสนา สังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม
มาตรา ๘๐
รัฐต้องดำเนินการตามแนวนโยบายด้านสังคม การสาธารณสุข การศึกษา และวัฒนธรรม ดังต่อไปนี้
(๑) คุ้มครองและพัฒนาเด็กและเยาวชน สนับสนุนการอบรมเลี้ยงดูและให้การศึกษาปฐมวัย ส่งเสริมความเสมอภาคของหญิงและชาย เสริมสร้างและพัฒนาความเป็นปึกแผ่นของสถาบันครอบครัวและชุมชน รวมทั้งต้องสงเคราะห์และจัดสวัสดิการให้แก่ผู้สูงอายุ ผู้ยากไร้ ผู้พิการหรือทุพพลภาพ และผู้อยู่ในสภาวะยากลำบาก ให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นและพึ่งพาตนเองได้
(๒) ส่งเสริม สนับสนุน และพัฒนาระบบสุขภาพที่เน้นการสร้างเสริมสุขภาพอันนำไปสู่สุขภาวะที่ยั่งยืนของประชาชน รวมทั้งจัดและส่งเสริมให้ประชาชนได้รับบริการสาธารณสุขที่มีมาตรฐานอย่างทั่วถึงและมีประสิทธิภาพ และส่งเสริมให้เอกชนและชุมชนมีส่วนร่วมในการพัฒนาสุขภาพและการจัดบริการสาธารณสุข โดยผู้มีหน้าที่ให้บริการดังกล่าวซึ่งได้ปฏิบัติหน้าที่ตามมาตรฐานวิชาชีพและจริยธรรม ย่อมได้รับความคุ้มครองตามกฎหมาย
(๓) พัฒนาคุณภาพและมาตรฐานการจัดการศึกษาในทุกระดับและทุกรูปแบบให้สอดคล้องกับความเปลี่ยนแปลงทางเศรษฐกิจและสังคม จัดให้มีแผนการศึกษาแห่งชาติ กฎหมายเพื่อพัฒนาการศึกษาของชาติ จัดให้มีการพัฒนาคุณภาพครูและบุคลากรทางการศึกษาให้ก้าวหน้าทันการเปลี่ยนแปลงของสังคมโลก รวมทั้งปลูกฝังให้ผู้เรียนมีจิตสำนึกของความเป็นไทย มีระเบียบวินัย คำนึงถึงประโยชน์ส่วนรวม และยึดมั่นในการปกครองระบอบประชาธิปไตยอันมีพระมหากษัตริย์ทรงเป็นประมุข
(๔) ส่งเสริมและสนับสนุนการกระจายอำนาจเพื่อให้องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น ชุมชน องค์การทางศาสนา และเอกชน จัดและมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษาเพื่อพัฒนามาตรฐานคุณภาพการศึกษาให้เท่าเทียมและสอดคล้องกับแนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
(๕) ส่งเสริมและสนับสนุนการศึกษาวิจัยในศิลปะวิทยาการแขนงต่าง ๆ และเผยแพร่ข้อมูลผลการศึกษาวิจัยที่ได้รับทุนสนับสนุนการศึกษาวิจัยจากรัฐ
(๖) ส่งเสริมและสนับสนุนความรู้รักสามัคคีและการเรียนรู้ ปลูกจิตสำนึก และเผยแพร่ศิลปวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีของชาติ ตลอดจนค่านิยมอันดีงามและภูมิปัญญาท้องถิ่น

3.ประเด็นที่เกี่ยวข้องกับความรู้และความจำที่น่าจะนำไปตอบข้อสอบได้มีอะไรบ้าง ยกตัวอย่าง
        ดิฉันคิดว่าประเด็นที่ข้อสอบมักจะนำไปออกข้อสอบเพื่อใช้วัดความรู้และความจำ น่าจะมีดังนี้
หมวดที่ 1 บททั่วไป
1.  รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ที่ใช้อยู่ปัจจุบันเป็นรัฐธรรมนูญฉบบที่เท่าใด
          
  18

2. 
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ได้มีการประกาศลงในราชกิจจานุเบกษาเมื่อใด
         
  วันที่ 24 สิงหาคม  พ.ศ. 2550

3.  
รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550 ประกอบด้วยกี่หมวด กี่มาตรา                         
         
15  หมวด  309 มาตรา

 4.  
บุคคลใดเป็นผู้สนองพรบรมราชโองการในการตรารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2550
          
นายมีชัย  ฤชุพันธุ์ ในฐานะประธานสภานิติบัญญัติแห่งชาติ
หมวดพระมหากษัตริย์
 1.     
พระมหากษัตริย์ผู้ทรงเป็นประมุขทรงใช้อำนาจอธิปไตยผ่านองค์กรใดบ้าง
       
 รัฐสภา (นิติบัญญัติ)  คณะรัฐมนตรี (บริหาร)  และศาล (ตุลาการ)
หมวด สิทธิและเสรีภาพของชนชาวไทย

 1.   
การใช้อำนาจโดยองค์กรของรัฐทุกองค์กร ต้องคำนึงถึงสิ่งใดบ้าง
        
         ศักดิ์ศรีความเป็นมนุษย์ สิทธิและเสรีภาพ
  2.     รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พุทธศักราช 2550 บุคคลย่อมมีสิทธิเสมอกันในการรับการศึกษาไม่น้อยกว่ากี่ปี โดยไม่เก็บค่าใช้จ่าย
          
       12  ปี
หมวด 4 หน้าที่ของชนชาวไทย
หมวด แนวนโยบายพื้นฐานแห่งรัฐ
 หมวด 8 การเงิน การคลัง และงบประมาณ
หมวด 9 คณะรัฐมนตรี
หมวด  10  ศาล
      จากการที่ดิฉันได้ศึกษาเกี่ยวกับกฎหมายที่ผ่านมาข้อสอบจะมีเนื้อหาต่างๆในแต่ละหมวดที่ได้กล่าวมา ซึ่งผู้เรียนควรจะทำความเข้าใจในแต่ละหมวดให้เข้าใจอย่างท่องแท้ แน่นอนว่าคุณจะสามารถทำข้อสอบผ่านไปได้ด้วยดี

4.ทำไมเราต้องมีความรู้และความเข้าใจเกี่ยวกับรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย ให้นักศึกษาบอกเหตุผลประกอบการอภิปราย
 เพราะว่ารัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยฉบับปัจจุบันได้มีการยกเลิก เเละเเก้ไขเพิ่มเติม เพื่อให้เหมาะสมกับสภาวะทางประเทศ มีการเปิดโอกาสให้ประชาชนมีส่วนร่วมในการลงประชามติ โดยมีสาระสำคัญเป็นการกระจายอำนาจ เพื่อให้ท้องถิ่นพึ่งตนเองและมีอิสระในการดำเนินงาน และต่อมาก็ได้มีการปรับปรุงกฎหมายที่เกี่ยวกับการปกครองส่วนท้องถิ่นให้สอดคล้องกับรัฐธรรมนูญ รวมทั้งมีการตรากฎหมายขึ้นมาใหม่หลายฉบับเพื่อให้เป็นไปตามที่รัฐธรรมนูญกำหนด ทั้งนี้การจะดำเนินการต่างๆได้ต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆฝ่าย แต่ต้องยึดความต้องการของประชาชนเป็นหลัก

5.นักศึกษามีความคิดเห็นอย่างไรในการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญเพราะเหตุใดที่จะต้องแก้ไขและทำไมมีประชาชนบางกลุ่มจึงคัดค้าน ขอให้นักศึกษาบอกถึงเหตุผลที่จะต้องแก้ไข
           ดิฉันคิดว่าการที่รัฐบาลจะแก้ไขรัฐธรรมนูญในปัจจุบันนี้จะ เป็นชนวนให้เกิดความไม่สงบ ถ้าแก้ไขเพียงแค่บางมาตราเพื่อผลประโยชน์แก้คนบางกลุ่มทำให้สิ้นเปลืองงบประมาณที่จะนำมาใช้ตรงจุดนี้  ประเด็นความเคลื่อนไหวดังกล่าวมีหลายฝ่ายออกมาคัดค้านเนื่องจากเห็นว่าเป็นการกระทำเพื่อตนเอง ซึ่งคนกลุ่มนี้สามารถจัดกระทำได้ เพราะเป็นสิทธิในการเรียกร้อง แสดงความคิดเห็น
 6.ปัจจุบันการปกครองประเทศมีอำนาจทั้ง 3 อำนาจที่จะต้องมีความสมดุลซึ่งกันและกัน และนักศึกษามองถึงปัญหารัฐสภา  สภาผู้แทนราษฎร์  สภานิติบัญญัติ มีภาวะที่ดำรงอยู่อย่างไร มีความมั่งคงที่จะรักษาความเสถียรต่อการบริหารบ้านเมืองหรือไม่ขอให้นักศึกษาอภิปรายและแสดงความคิดเห็นในประเด็นดังกล่าว
    จากการติดตามข่าวสารการดำเนินงาน รัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทยบางฉบับมีการให้อำนาจฝ่ายบริหารโดยไม่มีการถ่วงดุล ทำให้ฝ่ายบริหารมีความเฉียบขาดในการจัดการเรื่องต่าง ๆ ด้วยตนเอง ซึ่งอาจทำให้เกิดความฉับไวในการแก้ไขปัญหาเร่งด่วน แต่ก็นำมาซึ่งการใช้อำนาจรัฐในทางที่ผิด ปัญหาของรัฐสภาที่เห็นได้ชัด คือความขัดแย้ง ที่เกิดขึ้นในสภาแต่ละครั้ง ใครอยากจะประท้วงก็ลุกขึ้นพูดโวยวาย ไม่ทำตามกฎกติกา ซึ่งสร้างความวุ่นวายไปสู่การบริหารบ้านเมือง ต่างประเทศไม่กล้าเข้ามาลงทุน เพราะไม่สร้างความมั่นใจ จึงขาดเสถียรภาพทางการเมือง

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น